วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

แนวการบริหารจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศในสถานศึกษา


แนวการบริหารจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศในสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านสามหมื่น
ในปัจจุบันข้อมูลสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบริหารจัดการในสถานศึกษา เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการประเมินผลและการตรวจสอบแล้วย่อมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ภารกิจของสถานศึกษาซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรหลักในการจัดการตามหลักการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ได้แบ่งขอบข่ายงานออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารงานทั่วไป ดังนั้นการบริหารจัดการของแต่ละด้านย่อมต้องดำเนินการัดการบริหารสารสนเทศให้เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน ถูกต้องและจำเป็นต้องครบคลุมทุกบริบทเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
จากความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศในสถานศึกษา อาจจะแบ่งระบบสารสนเทศเป็น 4 ระบบ ดังนี้
- ระบบสารสนเทศพื้นฐาน
- ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน
- ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
- ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการ
สถานศึกษาจึงต้องดำเนินการในส่วนของความต้องการข้อมูลในการนำผลของข้อมูลตามระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง การจัดระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึง ความถูกต้อง ความเหมาะสมตลอดจนการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
แนวการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันคือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กรวมถึงในสังคมเมืองกับสังคมชนบท มีความแตกต่างกันมากเนื่องจากสถานศึกษาขนาดเล็กขาดบุคลากรทำข้อมูลประมวลผล ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่แผนงานเป็นผู้จัดทำพร้อมกับต้องทำหน้าที่สอน ขาดงบประมาณด้านสารสนเทศโดยตรงต้องอาศัยมุมเล็กๆ ของห้อง เป็นทีจัดทำสารสนเทศ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต้องใช้หลายงานต่อ 1 เครื่องและในถิ่นทุรกันดารบางทีต้องใช้ไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติเช่น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ขาดความต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามการจัดระบบสารสนเทศของสถานศึกษาทุกขนาด ทุกแห่งมีความจำเป็นต่อการบริหารงานทุกด้าน ตลอดจนการจัดการเรียนรู้อย่างยิ่ง
ในส่วนของโรงเรียนบ้านสามหมื่น สพท.ตากเขต 2 ตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร มีความยากลำบากในการคมนาคม ตลอดจนขาดสิ่งอำนวยความสะดวกและขาดบุคลากรด้านสารสนเทศปัญหาเหล่านี้ทำให้การพัฒนางานสารสนเทศต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยดำเนินการดังนี้
1. ด้านบุคลากร ต้องส่งเสริม สนับสนุนให้มีความรู้ ทักษะ ในการจัดการและ
ดำเนินการระบบสารสนเทศทุกคน
2. จัดสรรงบประมาณ / ระดมทุน ในการดำเนินงานเรื่องสารสนเทศโดยตรงอย่าง
สม่ำเสมอ
3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของร่วมกัน
4. จัดระบบ ขนาดให้เหมาะสมกับองค์กรโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด
5. บริหารจัดการโดยใช้หลัก
- การมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร/ วางแผน
- ดำเนินการตามแผนที่กำหนด
- มีการติดตาม ประเมินผลและมีการตรวจสอบระหว่างดำเนินการ
- แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง


นายทวีศักดิ์ คำภีระ รหัสนักศึกษา 519180205
นักศึกษาปริญญาโท การบริหารการศึกษา ศูนย์จังหวัดตาก
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฤดูฝน ณ โรงเรียน







บรรยากาศของโรงเรียน


























benchmarking


ความหมายของ Benchmarking มีนักวิชาการหลายท่านให้คำนิยามคำว่า Benchmarking หลายคำจำกัดความ และในตำราบางเล่มได้เพิ่มเติมคำว่า Benchmark และ Best Practices ซึ่งมีความหมายเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ โดยบุญดี บุญญากิจและกมลวรรณ ศิริพานิช(2545: 9-11) ได้ให้ความหมายทั้งสามคำไว้ว่า Benchmark หมายถึง Best-in-class คือเก่งที่สุดหรือดีที่สุดระดับโลกอันจะเป็นต้นแบบที่จะใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบความสมารถของตนเอง ส่วน Benchmarking คือวิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อมุ่งความเป็นเลิศทางธุรกิจ และ Best Practices คือวิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรืออาจกล่าวได้ว่าคือวิธีการที่ทำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ กล่าวคือกระบวนการทำ Benchmarking นำไปสู่การค้นพบผู้ที่เป็น Benchmark หรือผู้ปฏิบัติได้ดีที่สุดว่าเป็นใคร และผู้ที่เป็น Benchmark สามารถตอบคำถามเราได้ว่า Best Practices หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดที่นำไปสู่ความเป็นเลิศ